Forest Bathing อาบป่าเติมพลัง เยียวยาชีวิตด้วยธรรมชาติ
มนุษย์กับธรรมชาติคือความสัมพันธ์ที่แยกจากกันไม่ได้และยังเกื้อหนุนกันในระดับจุลชีพจนแทบจะเป็นระบบนิเวศเดียวกัน แม้ทุกวันนี้วิถีการใช้ชีวิตของคนเต็มไปด้วยความเร่งด่วน แต่ร่างกายก็ยังโหยหาและเฝ้ารอที่จะได้อยู่ในอ้อมกอดของธรรมชาติเสมอเพื่อปลอบประโลมร่ายกายและจิตใจ
คนส่วนใหญ่จึงอาศัยวันหยุดในการพาตัวเองและครอบครัวไปสัมผัสกับธรรมชาติ โดยเทรนด์ที่กำลังถูกพูดถึงในวงกว้างคือ การอาบป่า หรือ Forest Bathing กิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อซึมซับพลังจากป่า เยียวยาความเครียดสไตล์ญี่ปุ่น ที่พิสูจน์แล้วว่าดีต่อใจและดีต่อกายอย่างมีนัยสำคัญ
ศาสตร์แห่งการอาบป่า (Forest Bathing)
คนญี่ปุ่นเรียกการอาบป่าว่า ‘ชินริน-โยกุ’ (Shinrin-Yoku) มาจากคำว่า ‘ชินริน’ (Shinrin) ที่แปลว่า ‘ป่าไม้’ บวกกับคำว่า ‘โยกุ’ (Yoku) แปลว่า ‘การอาบน้ำ’ เป็นแนวคิดร่วมสมัยที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้งห้าในการซึมซับพลังจากผืนป่าหรือพื้นที่ธรรมชาติให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายอย่างมีสติและปราณีตบรรจง เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดทางการรักษาสุขภาพกายและการเยียวยาจิตวิญญาณ
เช่น การสูดลมหายใจเข้า-ออกช้าๆ เพื่อรับกลิ่นของไอดินและพรรณพืชนานาชนิดที่เปรียบดั่งยาขนานเอกช่วยบำบัดความอ่อนล้าที่เกิดขึ้น การเดินทอดน่องด้วยใจที่สงบเพื่อรับรู้กระแสความมีชีวิตชีวาของสรรพสิ่งรอบกายแล้วหยิบมาเพิ่มพลังชีวิตให้กับตัวเอง หรือการเฝ้าฟังเสียงในธรรมชาติที่สอดประสานพริ้วไหวราวกับดนตรีบรรเลงแสนผ่อนคลายหรือบางครั้งอาจเป็นเพียงเสียงกระซิบจากความเงียบที่ช่วยเยียวยาหัวใจ
ให้ธรรมชาติช่วยเยียวยา
ศาสตร์แห่งการอาบป่า (Art of Forest Bathing) ได้รับแรงสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเพื่อศึกษาค้นคว้าความเชื่อมโยงของธรรมชาติกับการบำบัดรักษาร่างกายและจิตใจ โดยในปี 2004 - 2012 ญี่ปุ่นได้ใช้เงินประมาณ 4 ล้านดอลลาร์ไปกับ 48 งานวิจัยเพื่อศึกษาผลทางจิตวิทยาของการอาบป่า และตรวจคุณสมบัติของป่าหลายๆ แห่งเพื่อรับรองและแนะนำให้พื้นที่เหล่านั้นเป็นแหล่งอาบป่าที่ประชาชนสามารถมาใช้บริการได้
หนึ่งในการศึกษาเมื่อปี 2009 เกี่ยวกับการวัด NK CELL หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายพบว่า NK CELL มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากทำกิจกรรมอาบป่าในทุกสุดสัปดาห์ หรือแปลได้ว่าการอาบป่าช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกและป้องกันมะเร็งได้นั่นเอง
ในขณะที่งานศึกษาของมหาวิทยาลัยชิบะพบว่า การอยู่ท่ามกลางต้นไม้เพียง 30 นาที มีผลเชิงบวกต่อร่ายกายอย่างมาก ระบบประสาททำงานดีขึ้น ฮอร์โมนความเครียดลดลง อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง และความดันโลหิตลดต่ำลง เมื่อเทียบกับคนที่อยู่ในเมือง
วางแผนเที่ยวผืนป่าใกล้กรุง
เห็นประโยชน์ดีๆ จากการอาบป่า (Forest Bathing) แล้ว ใครยังไม่มีแผนไปเที่ยวไหนปลายปีนี้ อาจพิจารณากิจกรรมท่องเที่ยวซึมซับพลังจากป่า (Forest Bathing) ที่อยู่ใกล้ๆ กรุงเทพดูบ้างซึ่งมีอยู่หลายๆ แห่ง อาทิ
- ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่อยู่ใกล้โครงการ Nirvana BEYOUND ศรีนครินทร์ ลูกบ้านสามารถเข้าศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศของป่าไม้ รวมทั้งจำลองป่ากรุงเทพฯ ในอดีตที่เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้ดั้งเดิมและพันธุ์ไม้หายากกว่า 250 ชนิดให้ได้สัมผัสกัน
- สวนบางกะเจ้า พื้นที่ป่าอนุรักษ์ในเขตชุมชน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ใกล้โครงการ BANYAN TREE RESIDENCES RIVERSIDE BANGKOK ยังคงความเขียวชอุ่มของป่าชายเลนและไร่สวนเกษตรของชาวบ้านไว้อย่างครบถ้วน โดยเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อที่ดื่มด่ำได้ทั้งธรรมชาติและวิถีชุมชนพร้อมๆ กัน
- สวนหลวง ร.9 พื้นที่สีเขียวที่เปรียบเสมือนปอดใหญ่ใกล้ๆ บ้าน นับเป็นสวนสาธารณะและสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ที่ลูกบ้าน Nirvana BEYOND ศรีนครินทร์ สามารถอิ่มเอมกับการอาบป่าได้อย่างสะดวกสบาย
- อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ที่อยู่ใกล้โครงการ Nirvana ICON ปิ่นเกล้า ซึ่งเวลามีวันหยุดต่อเนื่องแบบนี้ บรรยากาศกรุงเทพฯ มักโปร่งโล่งสบาย เหมาะแก่การพักผ่อนแบบ Forest Bathing เติมพลังงานดีๆ รีชาร์จชีวิตให้กลับมามีชีวาอีกครั้ง
นอกจากนี้ บ้านเนอวานาให้ความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่สีเขียว สรรค์สร้างสเปซที่เชื่อมโยงธรรมชาติกับการใช้ชีวิตของทุกคนในครอบครัวให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อเติมเต็มพลังชีวิตให้อุดมสมบูรณ์ความสุขทั้งกายและจิตวิญญาณ
#DetailsMakeMagic #NaturalElement #NirvanaHome #NirvanaDaii #goo.gl/oEVbcq #instagram.com/nirvana_daii