What is Deconstruction? ทำความรู้จักแนวคิด
บนโลกของสถาปัตยกรรมมีแนวคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอเพื่อเป็นเครื่องมือค้นหาแรงบันดาลใจและสร้างสรรค์ผลงานให้แตกต่างหรือมีความโดดเด่นท่ามกลางรูปแบบที่มีอยู่ดาษดื่นในแต่ละยุคสมัย หนึ่งในนั้นคือแนวคิด Deconstruction ที่พลิกวิธีการคิด เปลี่ยนการตีความ ตลอดถึงถอดรูปทรงและรื้อโครงสร้างที่คุ้นตาให้กลายเป็นงานสถาปัตยกรรมแบบใหม่ที่ไม่จำเจอีกต่อไป
การปรากฏของคำว่า Deconstruction
หากถามว่า Deconstruction คืออะไรและมาจากอะไร ต้องกล่าวว่าเดิม Deconstruction เป็นคำที่มาจากนักปรัชญาร่วมสมัยชาวฝรั่งเศส ฌาคส์ แดริดา (Jacques Derrida) ที่พูดถึงการเขียนหนังสือหรือวรรณกรรม โดยมองว่าภาษาเป็นสิ่งไร้ระเบียบและไม่เสถียรภาพ ความหมายสามารถแปรผันไปตามบริบทที่เปลี่ยนไป ดังนั้นตัวบทความในงานเขียนใดๆ จึงไม่มีสถานะที่ตายตัว แต่รอให้ผู้อ่านเข้าไปตีความเพื่อค้นหาความหมายในแบบฉบับของแต่ละคน หรืออาจกล่าวได้ว่าไม่มีงานเขียนหรือแนวคิดใดที่สามารถบอกเล่าหรือทำความเข้าใจถึงทุกสิ่งทุกอย่างได้สมบูรณ์แบบ นอกจากใช้ Deconstruction เพื่อวิจารณ์งานเขียนที่แตกต่างไปจากแบบแผนการวิจารณ์ทั่วไปแล้ว ปรัชญาการรื้อสร้างยังขยายไปในศาสตร์แขนงต่างๆ รวมทั้งโลกแห่งสถาปัตยกรรม
ผลงานออกแบบแนว Deconstruction โดย Peter Eisenman (ภาพจาก eisenmanarchitects.com)
Deconstruction กับงานสถาปัตยกรรม
ในแง่ของสถาปัตยกรรม Deconstruction คือแนวคิดอาจไม่ต่างจากงานทดลองของเหล่าสถาปนิกที่ต้องการตีความหรือแสวงหาหนทางใหม่ๆ ในสร้างสรรค์ผลงาน โดยไม่ยึดติดกับระเบียบปฏิบัติทางสถาปัตยกรรมที่ร่ำเรียนกันมา อย่างองค์ประกอบศิลป์ (Composition) สัดส่วน (Proportion) ความสอดคล้องกลมกลืน (Harmony) หรือแม้แต่การยึดติดอยู่กับลักษณะของอาคารที่มีประโยชน์ใช้สอยที่จำกัด
ความท้าทายที่จะออกนอกกรอบของแนวคิด Deconstruction ทำให้หน้าตาของสถาปัตยกรรมมักมีความแหวกแนว เปรี้ยวล้ำ หรือสร้างเซอร์ไพรส์ในแว่บแรกเมื่อเห็น เส้นสายที่เคยตรงตั้งฉากหรือขนานไปกับพื้นดินตามประเพณีการออกแบบทั่วไปถูกปรับให้ลาดเอียงหรือบิดองศาทะแยงจนเกิดเป็นสเปซใหม่ๆ ที่ให้ประสบการณ์การใช้พื้นที่ไม่เหมือนเดิม
แนวคิด Deconstruction เป็นแนวคิดที่ยังมาพร้อมเทคนิคการรื้อ คลี่คลายฟอร์มหรือโครงสร้างออกมาดูใหม่ เพื่อมองหาโอกาสในงานดีไซน์ผ่านการตั้งคำถาม หรือตั้งสมมติฐานเพื่อเพิ่มทางเลือกอื่นๆ หรือการทบทวนเพื่อที่จะขยับ เลื่อน หรือย้ายตำแหน่งโครงรูปเหล่านั้นออกจากสเปซเดิมๆ อันนำไปสู่รูปทรงใหม่ที่มีความหมายสมบูรณ์ในบริบทนั้นๆ หรือการใช้สอยที่เอื้อประโยชน์มากขึ้น หรือเป็นสถาปัตยกรรมที่สามารถดำรงอยู่คู่กาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป
Nirvana BEYOND บ้านซีรีส์ใหม่ ฉีกกฎเกณฑ์ดีไซน์เดิมๆ
ด้วยแนวคิด Deconstruction ที่ทำการละทิ้งแนวทางการออกแบบที่คุ้นตาทำให้เกิดสถาปัตยกรรมที่สะดุดตา เช่นเดียวกับบ้านซีรีส์ใหม่ของ Nirvana BEYOND คือการนำบางส่วนของปรัชญา Deconstruction มาใช้ โดยคิดจากข้างในที่หมายถึงประโยชน์ใช้สอยสูงสุดสำหรับผู้อยู่อาศัยออกสู่รูปทรงภายนอกที่สะท้อนความเป็นผู้นำของกลุ่มบ้านสไตล์โมเดิร์นได้อย่างสมบูรณ์
มีการใช้เทคนิคบิดเบี่ยงองศา และการทับซ้อนกันเป็นเลเยอร์ทำให้ Façade ของบ้านมีมิติ ในขณะเดียวกัน ด้วยการออกแบบ Deconstruction คือการปรับโครงสร้างและรูปแบบเดิมๆ ก็ทำให้เกิดสเปซใหม่ๆ ทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง ทำให้การใช้พื้นที่มีความสะดวกสบายและโปร่งโล่งกว่าที่เคย การจัดวางเลย์เอ้าท์แต่ละห้องมีพื้นที่และช่องเปิดจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะห้องนอนเล็กที่ขยายกว้างกว่าเดิม ส่งผลให้ทำกิจกรรมได้หลากหลาย เป็นสัดส่วน รองรับการเติบโตและเปลี่ยนแปลงตามไลฟ์สไตล์ในแต่ละช่วงวัย ซึ่งทั้งหมดสามารถสะสมเป็นต้นทุนสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว
การก้าวออกจากกรอบการดีไซน์เดิมๆ ในแบบฉบับ Deconstruction จึงเปรียบเสมือนการต่อยอดทางนวัตกรรมที่ทำให้งานสถาปัตยกรรมเกิดคุณค่าบางอย่างท่ามกลางบริบทหรือการตีความในระดับปัจเจคบุคคล และกลายเป็นอัตลักษณ์ที่ประเมินค่าไม่ได้
#DetailsMakeMagic #Design #NirvanaHome #NirvanaDaii #NirvanaLivingRevolution #NaturalModern