3 คีย์สำคัญของพื้นที่ทำงานที่มีประสิทธิภาพ
ออฟฟิศในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นสถานที่เพื่อนั่งทำงานอย่างเดียว แต่ยังหวังผลในการเป็นพื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์และแหล่งผลิตผลงานที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้ปัจจัยที่จะรักษาสมดุลของการใช้ชีวิตแบบที่เรียกว่า Work-Life Balance
การออกแบบพื้นที่จึงเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่จะทำให้เป้าหมายเหล่านี้สัมฤทธิ์ผล โดยพบว่าการดีไซน์ให้ออฟฟิศดูน่าทำงานและมีบรรยากาศที่ส่งเสริมให้พนักงานแสดงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่แบบยุค 4.0 นั้น ควรประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ พื้นที่กลางใช้งานร่วมกัน พื้นที่สำหรับทำงานของแต่ละคน และพื้นที่สำหรับทำงานร่วมกัน
พื้นที่กลางใช้งานร่วมกัน (Common Space)
พื้นที่สาธารณะทั่วไปที่ทุกคนในออฟฟิศใช้งานร่วมกัน เช่น โถงลอบบี้หน้าสำนักงาน ทางเดินที่เชื่อมโยงพื้นที่ภายในและภายนอก หรือพื้นที่สันทนาการต่างๆ โดยพื้นที่ส่วนกลางเหล่านี้ควรเข้าถึงง่าย ตกแต่งด้วย Mood&Tone ที่สะท้อนบุคลิกขององค์กร โดยอาจใช้สื่อสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ เช่น โทนสี ข้อความสร้างแรงบันดาลใจ ของตกแต่งมีสไตล์เพื่อสื่อสารแนวคิด วัฒนธรรมขององค์กรให้ทุกคนได้ซึมซับ
ในขณะเดียวกันก็ควรออกแบบให้เป็นมิตรกับพนักงานทุกคน โดยคำนึงถึงความหลากหลายของพนักงานในทุกแง่มุม ทั้งอายุ เพศ และช่วงวัย เพื่อทำให้พนักงานรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ไม่ถูกละเลยหรือมองข้ามไป ซึ่งความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กรนั้นเป็นปัจจัยด้านจิตวิญญาณที่มีความลึกซึ้งและส่งผลดีต่อองค์กรในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการรักษาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถเอาไว้ได้ ส่งเสริมความอุทิศตนให้มุ่งมั่นตั้งใจทำงานจนสำเร็จตามเป้าหมาย รวมไปถึงการดึงดูดคนเก่งๆ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมในอนาคต
พื้นที่ทำงานของแต่ละบุคล (Personal Space / Focused Space)
ทุกคนล้วนต้องการพื้นที่ส่วนตัวกันทั้งนั้นไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่ทำงาน การที่องค์กรให้ความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่สำหรับทำงานของแต่ละคนหรือทำงานเฉพาะทางบางอย่างนั้น ไม่เพียงตอบสนองวิถีการทำงานที่รักอิสระของคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ยังส่งเสริมสภาวะการทำงานแบบจดจ่อ (Focus) ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของสภาวะการทำงานที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Workflow) ร่วมกับสภาวะกระตุ้น (Stimulate) สภาวะร่วมมือ (Collaboration) สภาวะเล่นสนุก (Play) และสภาวะตกผลึก (Learn) ซึ่งบริษัท Wurkon และศูนย์วิจัยเทรนด์และการออแบบ Baramizi Lab ได้ร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์การออกแบบออฟฟิศจากทั่วโลก
โดยได้อธิบายเพิ่มเติมว่า สภาวะจดจ่อหรือ Focus นั้นคือการทำงานที่ต้องการสมาธิ ครุ่นคิด ไตร่ตรอง มุ่งความสนใจไปยังเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะ เป็นสภาวะที่ไม่ควรถูกรบกวนหรือขัดจังหวะ ดังนั้นจึงต้องออกแบบพื้นที่ทำงานในลักษณะพื้นที่ปิด มีฉากกั้นบังสายตา และรับแสงสว่างได้เพียงพอ ก็จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวที่โฟกัสกับงานตรงหน้าได้แล้ว
พื้นที่สำหรับทำงานร่วมกัน (Collaboration Space)
เพราะองค์กรไม่สามารถดำเนินไปได้ด้วยบุคคลเพียงคนเดียว เมื่อมีพื้นที่ของ “ฉัน” แล้วย่อมมีพื้นที่ของ “เรา” ด้วยเช่นกัน ซึ่งในที่นี้ประกอบด้วยห้องประชุม มุมนั่งคุยระดมสมองในฝ่ายงาน หรือห้องเทรนนิ่งต่างๆ ซึ่งการดีไซน์พื้นที่เหล่านี้อาจแตกต่างกันได้ตามฟังก์ชั่นใช้งาน แต่ข้อสำคัญคือการจัดสรรพื้นที่และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเกิดความร่วมแรงร่วมใจกันในทีม
เช่น หากเป็นห้องประชุมหลักที่เป็นทางการก็ควรมีโต๊ะประชุมขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์เทคโนโลยีรองรับ เช่น จอฉายสำหรับ Presentation กระดานสำหรับเขียนหรือร่างไอเดียในการระดมสมอง กรณีพื้นที่สำหรับประชุมกลุ่มย่อยแบบไม่เป็นทางการมากนักก็เน้นให้เกิดบรรยากาศที่ผ่อนคลายโดยเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์สีสดใส บนโต๊ะอาจมีของเล่นหรืออุปกรณ์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมไม่รู้สึกเครียดจนเกินไป เป็นต้น
คีย์การออกแบบทั้ง 3 พื้นที่จะทำงานสอดประสานอย่างกลมกลืน เพื่อสร้างบรรยากาศองค์รวมของออฟฟิศให้เป็นพื้นที่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง @Work โฮมออฟฟิศสไตล์โมเดิร์นสามารถเนรมิตพื้นที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยพื้นที่ใช้สอยกว้างขวาง สามารถแบ่งโซนการทำงานส่วนตัวและส่วนร่วมได้อย่างอิสระ แต่ยังเชื่อมโยงกันด้วยพื้นที่ส่วนกลางที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ของพนักงานไว้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อนำไปสู่ประสิทธิภาพผลผลิตของงาน (Productivity) เกิดนวัตกรรมใหม่ (Innovation) และส่งเสริมให้องค์กรเจริญเติบโต (Growth) อย่างไม่หยุดยั้ง
#DetailsMakeMagic #Design #NirvanaHome #NirvanaDaii