Workplace Culture of Well-being เป็นจริงได้แค่เข้าใจ-วัดผล-ปรับปรุง
เทรนด์ Wellbeing ในการทำงานเติบโตอย่างรวดเร็วตามทิศทางการบริหารทรัพยากรบุคคลที่หันมาให้ความสำคัญกับคุณภาพของคนเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับผลของงาน โดยมีงานวิจัยชี้ชัดว่าการลงทุนด้านสุขภาพกับคนทำงานคือกำไรระยะยาวที่ Win-Win ทั้งองค์กรและพนักงาน
การสร้าง Culture of Wellbeing ในออฟฟิศจึงกลายเป็นคอนเซ็ปต์ที่หลายๆ บริษัทพูดถึงในปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่พบว่ามีสถานประกอบการไม่มากนักที่สามารถนำมาประยุกต์ปฏิบัติได้จริง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Wellbeing เป็นเรื่องที่มีความทับซ้อนกันในหลายมิติ ทั้งกายภาพ จิตวิทยา สังคม ไปจนถึงความมั่นคงการเงิน ล้วนมีความเกี่ยวพันต่อความรู้สึกสุข-ทุกข์ที่ส่งผลถึงความสามารถในการทำงานหรือการแสดงศักยภาพออกมาของพนักงานแต่ละคน
การทำความเข้าใจต่อมิติเหล่านี้จึงเป็นเสมือนกระดุมเม็ดแรกที่เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารต้องพิจารณาอย่างละเอียด ดังนี้
มิติ 1 : สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน
การจัดสภาพแวดล้อมในเอื้อต่อการทำงานไม่ต่างจากการสร้าง First Impress ให้กับคนทำงานที่สามารถทำให้พนักงานมีสุขภาพที่ดี และมีพลังเหลือเฟือที่จะลุยงานในแต่ละวันให้สำเร็จเสร็จสิ้นได้ นอกจากออกแบบพื้นที่ให้รองรับฟังก์ชั่นการทำงาน มีอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องไม้ครบครันแล้ว หัวใจสำคัญที่จะส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดียังต้องผนวกกับความเป็นธรรมชาติ ทั้งคุณภาพอากาศที่ดี แสงสว่างเพียงพอ และพื้นที่สีเขียว ตลอดจนอยู่ภายใต้พื้นฐานความปลอดภัยที่ผ่านเกณฑ์ควบคุมต่างๆ อาทิ ระดับเสียง ความสะอาด และการเข้าถึงได้ง่ายสำหรับทุกคน (Universal Design)
มิติ 2 : สุขภาพกาย-ใจ
คำพูดติดตลกอย่าง Thank goodness it’s Friday หรือพรุ่งนี้วันจันทร์อีกแล้ว โดยผิวเผินเราอาจคิดว่าไม่มีอะไร แต่แท้จริงคือหลักฐานสะท้อนความล้มเหลวของ Culture of Wellbeing ในองค์กร เพราะคนทำงานเหล่านั้นลึกๆ แล้วยังไม่บรรลุความสุขอย่างที่ตั้งใจไว้ แถมข้อมูลจาก Gallup ยังพบว่า 7 ใน 10 ของคนทำงานเจน Millennial ล้วนเคยเผชิญภาวะหมดไฟ (Burnout) ดังนั้น การเฝ้าสำรวจสุขภาพร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์พร้อมอยู่เสมอจึงเป็นอีกหน้าที่ที่ทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาต้องใส่ใจและช่วยกันรับมือทันทีเมื่อพบความผิดปกติ
มิติ 3 : ความสัมพันธ์
ความรู้สึกเป็นทีมเดียวกัน มีคนเป็นห่วงเป็นใย หรือได้การยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน คือ ความสัมพันธ์พื้นฐานที่มนุษย์ทำงานทุกคนต้องการและเป็นความมั่นคงทางสังคมที่กระตุ้นให้ความหมายของคำว่า “งาน” ลึกซึ้งมากกว่าแค่การบรรลุเป้าหมายคนเดียว แต่คือการร่วมมือกันเพื่อชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของทีมเวิร์ค ซึ่งนายจ้างที่ดีควรตระหนักถึงความต้องการตามธรรมชาติดังกล่าว โดยใช้การสื่อสารภายในผ่านรูปแบบและกิจกรรมต่างๆ เช่น ตกแต่งมุมสันทนาการ จัดสัมมนาเทรนนิ่ง หรือแม้แต่ทำกิจกรรม CSR เพื่อสานความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพให้กับพนักงานในองค์กร เป็นต้น
มิติ 4 : ความมั่นคงทางการเงิน
บางคนตัดสินใจลาออกเพื่ออัพเงินเดือนให้สูงขึ้น บางคนรายรับไม่สัมพันธ์กับรายจ่าย บางคนรู้สึกไม่มั่นคงกับงานที่ทำอยู่ ไม่ว่าด้วยสถานการณ์แบบไหน กับพนักงานในระดับใดล้วนเป็นสัญญาณอันตรายสำหรับองค์กร เพราะคนทำงานมีแนวโน้มที่จะโฟกัสงานน้อยลง ขาดงานบ่อย และท้ายที่สุดคืองานไม่สัมฤทธิ์ผล ในฐานะเจ้าของบริษัทหรือผู้นำองค์กรจึงจำเป็นต้องสนับสนุนให้พนักงานดูแลสุขภาพทางการเงิน เช่น มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม ตลอดจนให้ความรู้เรื่องการออมการลงทุนเพื่อความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาครบทั้ง 4 มิติแล้วก็จะทำให้เราทราบได้ว่า Culture of Wellbeingในออฟฟิศนั้นอยู่ stage ใด จากนั้นจึงนำผลลัพธ์เหล่านั้นมาพัฒนาปรับปรุงหรือลงทุนเพิ่มเติมNirvana@work โฮมออฟฟิศติดถนนใหญ่ สร้างคุณภาพชีวิตที่สะดวกสบายให้กับเจ้าของธุรกิจและพนักงาน พร้อมพื้นที่ใช้สอยกว้างขวางที่สามารถจัดสรรฟังก์ชั่นให้เอื้อต่อการทำงานอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาต่อยอด Culture of Wellbeing และวัฒนธรรมองค์กรด้านอื่นๆ ในแบบฉบับที่ต้องการ
#DetailsMakeMagic #Design #NirvanaHome #NirvanaDaii #NirvanaLivingRevolution #NaturalModern #RevolutionOfModernDesign